พรหมทัตมาณพกล่าวสรรเสริญพระรัตนตรัย โดยกำลังความสามารถ
ของตน ซึ่งเพิ่มพูนขึ้นด้วยเพียงข่าวที่ฟังมาเป็นต้น
คำว่า อิติห เต อุโภ อาจริยนฺเตวาสี ความว่า ด้วยประการ
ฉะนี้ อาจารย์และศิษย์ทั้งสองนั้น. บทว่า อญฺมญฺสฺส ตัดบทเป็น
อญฺโ อญฺสฺส ความว่า คนหนึ่งเป็นข้าศึกแก่อีกคนหนึ่ง.
บทว่า อุชุวิปจฺจนิกวาทา ความว่า มีวาทะเป็นข้าศึกหลายอย่าง
โดยตรงทีเดียว มิได้หลีกเลี่ยงกันแม้แต่น้อย อธิบายว่า มีวาทะผิดแผก
กันหลายวาระทีเดียว ด้วยว่า เมื่ออาจารย์กล่าวติพระรัตนตรัย ศิษย์กล่าวชม
คือคนหนึ่งกล่าวติ อีกคนหนึ่งกล่าวชม โดยทำนองนี้แล. อาจารย์กล่าวติ
พระรัตนตรัยบ่อย ๆ อย่างนี้ เหมือนตอกลิ่มไม้เนื้ออ่อนลงบนแผ่นไม้เนื้อ
แข็ง. ฝ่ายศิษย์กล่าวชมพระรัตนตรัยบ่อย ๆ เหมือนเอาลิ่มที่ทำด้วยทอง
เงิน และแก้วมณี ป้องกันลิ่มนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระอานนท์จึง
กล่าวว่า ต่างมีถ้อยคำเป็นข้าศึกโดยตรง ดังนี้.
คำว่า ภควนฺตํ ปิฏฺฐิโต ปิฏฺฐิโต อนพนฺธา โหนฺติ ภิกฺขุสงฺฆญฺจ
ความว่า เป็นผู้ติดตามไปข้างหลัง ๆ ยังมองเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าและ
ภิกษุสงฆ์ โดยการติดตามอิริยาบถ อธิบายว่า ยังแลเห็นศีรษะตามไป.
ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จเดินทางไกล ?
เพราะเหตุไร สุปปิยปริพาชกจึงติดตามไป ? และเพราะเหตุไร เขาจึง
กล่าวติเตียนพระรัตนตรัย.
ตอบว่า เริ่มแรก พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ มหาวิหาร
ในกาลนั้น เวลาเช้าตรู่ ทรงปฏิบัติพระพุทธสรีระ ถึงเวลาภิกษาจาร
No comments:
Post a Comment