Wednesday, December 8

Tham-¹ Script Ariyaka-²³⁴


มีเนื้อความว่า ลัทธิ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เตน โข ปน
สมเยน อุคฺคหมาโน ปริพฺพาชโก สมณมุณฺฑิกาปุตฺโต สมยปฺ-
ปวาทเก ติณฺฑุกาจิเร เอกสาลเก มลฺลิกาย อาราเม ปฏิวสติ.
¹uggahamano-ก็โดยสมัยนั้นแล ปริพาชกชื่อว่าอุคคหมาน บุตรของนางสมณมุณฑิกา
อยู่อาศัยในอารามของพระนางมัลลิกา ซึ่งมีศาลาหลังเดียว มีต้นมะพลับ
เรียงรายอยู่รอบ เป็นสถานที่สอนลัทธิ.
มีเนื้อความว่า ได้เฉพาะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า
ทิฏฺเฐ ธมฺเม จ โย อตฺโถ โย จตฺโถ สมฺปรายิโก
อตฺถาภิสมยา ธีโร ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติ.
ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทรงจำ เราเรียกว่าบัณฑิต
เพราะการได้เฉพาะ ซึ่งประโยชน์ทั้งภพนี้ และ
ภพหน้า.
มีเนื้อความว่า ละ เช่นในประโยคมีอาทิว่า สมฺมา มานาภิสมยา
อนฺตมกาสิ ทุกฺขสฺส ได้ทำที่สุดแห่งทุกข์ เพราะละมานะโดยชอบ.
มีเนื้อความว่า แทงตลอด เช่นในประโยคมีอาทิว่า ทุกฺขสฺส
²abhisamayattho-ปีฬพฏฺโฐ สํขตฏฺโฐ สนฺตาปฏฺโฐ วิปริณามฏฺโฐ อภิสมยฏโฐ
บีบคั้น ปรุงแต่ง เร่าร้อน แปรปรวน แทงตลอด.
สำหรับในพระสุตตันตปิฎกนี้ สมย ศัพท์ มีเนื้อความว่า กาล
เพราะเหตุนั้น ท่านพระอานนท์จึงแสดงว่า สมัยหนึ่ง ในบรรดาสมัย
ทั้งหลาย อันเป็นประเภทแห่งกาล เป็นต้นว่า ปี ฤดู เดือน กึ่งเดือน
กลางคืน กลางวัน เช้า เที่ยง เย็น ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม
และครู่.

Insert Table

   🔠  ₂₃₄

No comments:

Blog Archive

Phra Ratana Kosin Sok Thi 236 —239