Friday, December 24

At This Table


ก็ในปิฎก ๓ นี้ วินัยปิฎก ท่านเรียกว่า อาณาเทศนา การเทศนา
โดยอำนาจบังคับบัญชา เพราะเป็นปิฎกทีที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ควรออก
คำสั่ง ทรงแสดงแล้วโดยความเป็นเทศนาที่มากไปด้วยคำสั่ง. สุตตันตปิฎก
ท่านเรียกว่า โวหารเทศนา การเทศนาโดยบัญญัติ เพราะเป็นปิฎกที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงฉลาดในเชิงสอน ทรงแสดงแล้วโดยความเป็น
เทศนาที่มากไปด้วยคำสอน. อภิธรรมปิฎก ท่านเรียกว่า ปรมัตถเทศนา
การเทศนาโดยปรมัตถ์ เพราะเป็นปิฎกที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ฉลาดใน
ปรมัตถ์ ทรงแสดงแล้วโดยความเป็นเทศนาที่มากไปด้วยปรมัตถ์.
อนึ่ง ปิฎกที่ ๑ (วินัยปิฎก ) ท่านเรียกว่า ยถาปราธศาสนา การ
สั่งสอนตามความผิด เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีความผิด
มากมายเหล่านั้นใด สัตว์เหล่านั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งตาม
ความผิดในปิฎกนี้. ปิฎกที่ ๒ ( สุตตันตปิฎก) ที่ท่านเรียกว่า ยถานุโลม-
ศาสนา การสั่งสอนอนุโลมตามอัธยาศัย เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า สัตว์
ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยอนุสัยและจริยาวิมุตติ มิใช่น้อย อันพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า
ทรงสั่งสอนแล้วในปิฎกนี้ตามอนุโลม. ปิฎกที่ ๓ (อภิธรรมปิฎก)
ท่านเรียกว่า ยถาธรรมศาสนา การสั่งสอนตามปรมัตถธรรม เพราะ
อรรถวิเคราะห์ว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีความสำคัญในสภาวะสักว่ากองแห่ง
ปรมัตถธรรมว่า นี่เรา นั่นของเรา ดังนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
สั่งสอนแล้ว ตานตามปรมัตถธรรมปรมัตถธรรมในปิฎกนี้.
อนึ่ง ปิฎกที่ ๑ ท่านเรียกว่า สังวราสังวรกถา ด้วยอรรถว่า
สังวราสังวระอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการฝ่าฝืน อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
แล้วในปิฎกนี้. บทว่า สํวรา สํวโร ได้แก่ สังวรเล็กและสังวรใหญ่

Insert Table

   🔠  ₁₈₆

No comments:

Post a Comment

ประณาม Khatha สำหรับ Phra สรรพาลังการ Pali ศัพท์