Friday, December 10

Nai


ปฏิภาณปฏิสัมภิทาของตน. ด้วยคำแสดงถึงการแทงตลอดประเภทแห่ง
ธรรมที่ควรสดับว่า สุตํ นี้ ท่านพระอานนท์แสดงถึงสภาพแห่งสมบัติ
คือ ธัมมปฏิสัมภิทา และนิรุตติปฏิสัมภิทา.
อนึ่ง ท่านพระอานนท์ เมื่อกล่าวคำอันแสดงโยนิโสมนสิการว่า
เอวํ นี้ ย่อมแสดงว่า ธรรมเหล่านี้ ข้าพเจ้าเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้ว
ด้วยทิฏฐิ. เมื่อกล่าวคำอันแสดงการประกอบด้วยการสดับว่า สุตํ นี้ ย่อม
แสดงว่า ธรรมเป็นอันมาก ข้าพเจ้าได้สดับแล้ว ทรงจำไว้แล้ว คล่อง
ปาก. เมื่อแสดงความบริบูรณ์แห่งอรรถและพยัญชนะ แม้ด้วยคำทั้งสอง
นั้น ย่อมให้เกิดความเอื้อเฟื้อในการฟัง เพราะว่าผู้ไม่สดับธรรม ที่
บริบูรณ์ด้วยอรรถะและพยัญชนะ โดยเอื้อเฟื้อ ย่อมเหินห่างจากประโยชน์
เกื้อกูลอันใหญ่ เพราะเหตุดังนี้นั้น กุลบุตรควรจะให้เกิดความเอื้อเฟื้อฟัง
ธรรมนี้โดยเคารพแล.
อนึ่ง ด้วยคำทั้งหมดว่า เอวมฺเม สุตํ นี้ ท่านพระอานนท์มิได้
ตั้งธรรมที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว เพื่อตน ย่อมล่วงพ้นภูมิอสัตบุรุษ
เมื่อปฏิญาณความเป็นสาวก ย่อมก้าวลงสู่ภูมิสัตบุรุษ
อนึ่ง ย่อมยังจิตให้ออกพ้นจากอสัทธรรม ย่อมยังจิตให้ดำรงอยู่ใน
พระสัทธรรม เมื่อแสดงว่า ก็พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้นเท่านั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาโดยสิ้นเชิงทีเดียว ชื่อว่าย่อมเปลื้องตน
ย่อมแสดงอ้างพระบรมศาสดา ทำพระดำรัสของพระชินเจ้าให้แนบแน่น
ประดิษฐานแบบแผนพระธรรมไว้.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านพระอานนท์ เมื่อไม่ปฏิญาณว่าธรรมอันตนให้
เกิดขึ้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ เปิดเผยการสดับให้ในเบื้องต้นเบื้องต้น ย่อม

Insert Table

   🔠  ₂₂₈

No comments:

Blog Archive

Phra Ratana Kosin Sok Thi 236 —239