Thursday, December 23

Taela


เทศนาได้แก่การแสดงซึ่งบาลีนั้น อันกำหนดไว้อย่างดีด้วยใจ ปฏิเวธ
ได้แก่ความหยั่งรู้บาลี และเนื้อความของบาลีตามความเป็นจริง ก็เพราะ
ธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธเหล่านี้ ในปิฎกทั้ง ๓ นี้ ผู้มีปัญญา
น้อยทั้งหลาย หยั่งรู้ได้ยาก และเป็นที่พึ่งไม่ได้ เหมือนมหาสมุทร สัตว์
เล็กทั้งหลาย มีกระต่ายเป็นต้น พึ่งไม่ได้ฉะนั้น จึงเป็นของลึกซึ้ง.
ในปิฎก ๓ นี้ พึงทราบคัมภีรภาวะทั้ง ๔ อย่าง ในแต่ล่ะในแต่ละปิฎกปิฎกด้วยประการ
ฉะนี้.
อีกนัยหนึ่ง ธรรมได้แก่เหตุ ข้อนี้สมด้วยพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า
ญาณในเหตุ ชื่อธรรมปฏิสัมภิทา. อรรถได้แก่ผลแห่งเหตุ ข้อนี้สมด้วย
พระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า ญาณในผลแห่งเหตุ ชื่ออรรถปฏิสัมภิทา
เทศนาได้แก่บัญญัติ อธิบายว่า การแสดงธรรมตามสภาวธรรม อีกอย่าง
หนึ่ง การแสดงด้วยอำนาจอนุโลมและปฏิโลม สังเขปและพิสดารเป็นต้น
เรียกว่า เทศนา. ปฏิเวธได้แก่การตรัสรู้ และปฏิเวธนั้น เป็นได้ทั้ง
โลกิยะ ทั้งโลกุตตระ ได้แก่ความรู้จริงไม่เปลี่ยนแปลง ในเหตุทั้งหลาย
สมควรแก่ผล ในผลทั้งหลายสมควรแก่เหตุ ในบัญญัติทั้งหลายสมควร
แก่ทางแห่งบัญญัติ โดยอารมณ์ และโดยความไม่หลง สภาวะแห่งธรรม
ทั้งหลายนั้น ๆ ที่กล่าวแล้วในปิฎกนั้น ๆ ไม่วิปริต กล่าวคือบัณฑิตกำหนด
เป็นมาตรฐาน ควรแทงตลอด.
สภาวธรรมที่มีเหตุใด ๆ ก็ดี สภาวธรรมที่มีผลใด ๆ ก็ดี เนื้อความ
ที่ควรให้รู้ด้วยประการใด ๆ ย่อมเป็นเป้าหมายสำคัญแห่งญาณของผู้ฟัง
ทั้งหลาย เทศนานี้ใด ที่ส่องเนื้อความนั้นให้กระจ่างด้วยประการนั้น ๆ
ก็ดี ปฏิเวธใดกล่าวคือความรู้จริงไม่วิปริตในปิฎก ๓ นี้ อย่างหนึ่ง สภาวะ

Insert Table

   🔠  ₁₈₉

No comments:

Blog Archive

Phra Ratana Kosin Sok Thi 236 —239