ดังนี้ หมายถึงสมัยใดสมัยหนึ่ง ในบรรดาสมัยทั้งหลายแม้เหล่านั้น.
เอกํ สมยํ ไม่กระทำเหมือนอย่างในพระอภิธรรม ซึ่งท่านได้ทำนิเทศ
ด้วยสัตตมีวิภัตติ ว่า ยสฺมํ สมเย กามาวจรํ และในสุตตบทอื่น ๆ จาก
พระอภิธรรมนี้ ก็ทำนิเทศด้วยสัตตมีวิภัตติว่า ยสฺมึ สมเย ภิกฺขเว ภิกฺขุ
สมเยน พุทฺโธ ภควา ?
ตอบว่า เพราะในพระอภิธรรมและพระวินัยนั้น มีอรรถเป็นอย่าง
นั้น ส่วนในพระสูตรนี้มีอรรถเป็นอย่างอื่น. จริงอยู่ บรรดาปิฎกทั้ง ๓ นั้น
ในพระอภิธรรมและในสุตตบทอื่นจากพระอภิธรรมนี้ ย่อมสำเร็จอรรถ
แห่งอธิกรณะและอรรถแห่งการกำหนดภาวะด้วยภาวะ. ก็อธิกรณะ คือ
สมัยที่มีกาลเป็นอรรถและมีประชุมเป็นอรรถ และภาวะแห่งธรรมมีผัสสะ
เป็นต้น ท่านกำหนดด้วยภาวะแห่งสมัย กล่าวคือ ขณะ ความพร้อมเพรียง
และเหตุ แห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้น ที่ตรัสไว้ในพระอภิธรรมและสุตตบท
อื่นนั้น ๆ เพราะฉะนั้น เพื่อส่องอรรถนั้น ท่านจึงทำนิเทศด้วยสัตตมี
วิภัตติในพระอภิธรรมและในสุตตบทอื่นนั้น. ส่วนในพระวินัย ย่อมสำเร็จ
อรรถแห่งเหตุและอรรถแห่งกรณะ. จริงอยู่ สมัยแห่งการทรงบัญญัติสิกขา
บทนั้นใด แม้พระสาวกมีพระสารีบุตรเป็นต้น ก็ยังรู้ยาก โดยสมัยนั้นอัน
เป็นเหตุและเป็นกรณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงบัญญัติสิกขาบท
ทั้งหลาย และทรงพิจารณาถึงเหตุแห่งการทรงบัญญัติสิกขาบท ได้ประทับ
อยู่ในที่นั้น ๆ เพราะฉะนั้น เพื่อส่องความข้อนั้น ท่านจึงทำนิเทศด้วยตติยา
วิภัตติในพระวินัยนั้น. ส่วนในพระสูตรนี้ และพระสูตรอื่นที่มีกำเนิด
No comments:
Post a Comment